วิเคราะห์ สถานการณ์ ดิ วัน รัชดา ปิดตัว

Last updated: 9 พ.ค. 2568  | 

วิเคราะห์ สถานการณ์ ดิ วัน รัชดา ปิดตัว

วิเคราะห์ สถานการณ์ ดิ วัน รัชดา ปิดตัว โครงการนี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 11สิงหาคม 2567 ซึ่งวันเปิดโครงการ ถือว่าประสบความสำเร็จ ด้วยความสามารถของทีมผู้บริหาร ที่เข้าใจธุรกิจตลาดนัดเป็นอย่างดี กล่าวคือ มีกิจกรรมตลาดที่ยิ่งใหญ่ การวางรูปแบบร้านค้า ทางเดิน เลย์เอาท์ ราคาค่าเช่าที่เหมาะสม ถือเป็นปัจจัยภายในที่บริหารได้ดีมาก แต่ด้วยเศรษฐกิจของประเทศซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง GDP ของประเทศ อยู่ที่ 2.5-2.8% เท่านั้น รั้งท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยถดถอยมากที่สุด กอร์ปกับศูนย์บริหารเครดิตบูโรแห่งชาติ แจงตัวเลข หนี้ครัวเรือน 16 ล้านล้านบาท มาจากหนี้เครดิตบูโร 13.6 ล้านล้านบาทและหนี้ื กยศ. 2.7 ล้านล้านบาท หนี้ NPLs 9.5 ล้านบัญชี หนี้กำลังจะเสียอีก 5 ล้านล้านบาท หรือ 1.9ล้านบัญชี หนี้ปรับโครงสร้าง 1.1 ล้านบาท หรือ 3.7 ล้านบัญชี หนี้ เริ่มมีปัญหาค้างชำระ 90 วัน จำนวน 9.2 แสนล้านบาท หรือ 1.7 ล้านบัญชี

หากรวมจำนวนหนี้เสียในระบบทั้งหมดเป็นจำนวนเงินและจำนวนราย จะพบว่า หนี้ทั้งหมด 28.2ล้านล้านบาท จำนวนบัญชี 16.8 บัญชี ประมาณ 70%% ของ มวลรวมประชาชาติ GDP ถือว่าจำนวนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน กอร์ปกับอีกปัจจัยหนึ่ง หนี้เช่าซื้อรถยนต์และบ้าน ถูกยึดขายทอดตลาดจำนวนมาก สอดคล้องกับจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่า กลุ่มลูกค้าของธุรกิจตลาดนัดคือกลุ่มลูกค้าระดับกลางไปยังระดับล่าง ประสบปัญหาทางการเงิน มีรายจ่ายและหนี้สินมากกว่ารายได้ ทำให้ไม่มีกำลังซื้อจับจ่ายใช้สอย ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินส่วนบุคคล

โดยบทสรุป การปิดตัวของ ดิ วัน รัชดา มิใช่ ปัญหาที่มาจากการบริหารของทีมงาน แต่มาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของประเทศและปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ส่วนบุคคลมากกว่า อย่างไรก็ตามขอส่งกำลังใจไปยังทีมผู้บริหารและร้านค้าที่ยังมีสติ ต่อสู้ ต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้