สส.เลย แจงหวั่นเข้าใจผิด เดินหน้าสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง

Last updated: 9 พ.ค. 2568  | 

สส.เลย แจงหวั่นเข้าใจผิด เดินหน้าสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง


สส.เลย แจงหวั่นเข้าใจผิด เดินหน้าสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง งบ 25.7 ล้านเป็นงบออกแบบและทำ EIA เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 จากกรณีนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ข่าวเรื่องของการบริหารจัดการพื้นที่ด้านบนภูกระดึง และมีแนวคิดเพิ่มการให้บริการรถรางไฟฟ้าขนาดเล็กบนจุดท่องเที่ยวด้านบน โดยปรับเส้นทางด้วยคอนกรีตหรือดิน เพื่อให้รถวิ่งได้ ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง รวมถึงการใช้งบประมาณ 25.7 ล้าน จากประเด็นนี้

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ พรรคเพื่อไทย สส. เขต 3 จ.เลย ได้เปิดเผยว่า จากข้อมูลปัจจุบัน ในเรื่องของการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง ซึ่งสำนักงบประมาณ ได้อนุมัติงบ 25.7 ล้านบาท ให้คณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ดำเนินการโครงการออกแบบก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง และทำ EIA เท่านั้น และไม่เกี่ยวกับการทำอื่นๆตามที่เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้

เรื่องของกระเช้าเราได้ใช้เวลาผลักดันร่วมมามากกว่า 30 กว่าปี เพราะฉะนั้นการที่อยู่ๆมีอย่างอื่นโผล่ขึ้นมา หรือเป็นอย่างที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้กล่าวถึงกรณีมีแนวคิดเพิ่มการให้บริการรถรางไฟฟ้าขนาดเล็กบนจุดท่องเที่ยวด้านบน โดยปรับเส้นทางด้วยคอนกรีตหรือดิน เพื่อให้รถวิ่งได้ ซึ่งตามกล่าวที่สามารถทำได้ และตนก็เข้าใจในมุมของอธิบดีฯว่า จริงๆเราสามารถพัฒนาในส่วนอื่นได้ด้วย แต่ว่าในส่วนที่กำลังเป็นข่าวงบ 25.7 ล้านนี้ เป็นเรื่องของการออกแบบและทำ EIA เพียงอย่างเดียวและไม่มีอย่างอื่นเกี่ยวข้องด้วย

จากข้อมูลที่มีการศึกษามามากกว่า 30 กว่าปี และก็เคยศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแล้ว และในอดีตเคยมีผลการศึกษาที่มีเส้นทางที่เชื่อว่าสามารถทำได้ และไม่กระทบสิ่งแวดล้อมถ้ามีก็ให้มีน้อยสุด ซึ่งเส้นทางที่กรมอุทยานเองก็ทราบดีว่า มีเส้นทางเราจะกำหนดและเป็นเส้นที่ผ่านผลการศึกษาที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเรื่องการทำกระเช้า ตนเองก็เชื่อว่าทางกรมอุทยานฯก็เห็นด้วยในครั้งนี้ และก็ท่านอธิบดีฯคงเห็นว่าเรากำลังจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ คือการทำแหล่งท่องเที่ยวในอุทยาน ท่านก็คงเสนอเรื่องอื่นๆเพิ่มขึ้นมา เพียงแต่ว่าเรื่องนั้นยังไม่ใช่สิ่งที่เรากำลังศึกษากัน ซึ่งตนขอย้ำว่าการที่ได้งบประมาณ 25.7 ล้านเป็นงบเรื่องของการออกแบบและทำ EIA เท่านั้น ต่อมาคือการออกแบบนี้ ในส่วนขององค์ประกอบก็ได้มีการพูดคุยกันในหลายประเด็นว่า กระเช้าเราไม่ได้ทำเพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว เราต้องการสามารถขนคนได้ สามารถใช้ได้ในยามฉุกเฉิน และสามารถช่วยในการบริหารจัดการเรื่องขยะของภูกระดึงได้ ซึ่งก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ และสามารถช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ด้วย

เราจะเห็นเรื่องในอดีตการที่จะเอาอะไรขึ้นภูกระดึง อย่างมีเหตุไฟไหม้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ ที่เป็นอุปกรณ์หนักอย่างรถไถ สิ่งเหล่านี้ในอดีตเราจำเป็นที่ต้องแยกชิ้นส่วนให้คนแบกขึ้นไป ต้องใช้แรงงานเจ้าหน้าที่ แรงงานลูกหาบ อันนี้ก็คือส่วนที่เราใช้เป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งในการออกแบบว่า ผู้ที่จะออกแบบกระเช้าต้องสามารถตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้นการทำกระเช้ามันจะช่วยในการบริหารจัดการ ช่วยให้เรารักษาสิ่งแวดล้อมและรักษาภูกระดึงได้ดีขึ้น นี้คือจุดประสงค์ที่เราต้องการออกแบบในครั้งนี้

ในส่วนของการออกแบบและการทำ EIA น่าจะต้องทำไปพร้อมกัน เนื่องในการออกแบบจำเป็นต้องมีว่า จะใช้เสาขนาดเท่าไร จะต้องขุดหลุมไปเท่าไร ฐานจะต้องใช้ขนาดเท่าไรจะวางที่จุดไหนบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งที่ต้องคำนึ่งการทำผลสำรวจผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ฉนั้นการออกแบบและการทำ EIA ต้องทำไปพร้อมกัน โดยการออกแบบต้องให้มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และต้องอยู่ในมาตรฐานของ EIA สส. เขต 3 จ.เลย 

อัมรินทร์ ชูฤทธิ์ / จังหวัดเลย 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้